หัวข้อ   “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2555”
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ทำนาย เศรษฐกิจปีงูใหญ่ GDP โต 4.0%  
ส่งออก โต 13.2%   เงินเฟ้อ 3.7%   อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.75%
และ เงินบาทอยู่ที่ 30.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  พร้อมเสนอรัฐบาลเร่ง
ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เน้นฟื้นฟูเยียวยา และให้ความสำคัญกับการ
ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 78 คน เรื่อง
คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2555” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7 – 15 ธ.ค.
ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว
ร้อยละ 3.3  เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.0   ราคาน้ำมันดิบ(WTI)
จะอยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 
3.7
 
                 ในส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.1 เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 3.25 ไปสู่ระดับร้อยละ 2.75  ภายในสิ้นปี 2555 ส่วนค่าเงินบาท
คาดว่าจะอยู่ที่  30.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  และการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 13.2  ด้านการเคลื่อนไหวของ SET
Index
   นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 37.2  เชื่อว่าดัชนียังคงมีทิศทางขาขึ้นโดยจุดสูงสุดของปีคาดว่าจะอยู่ที่ 1,200  จุด
 
                 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2555 คือ อันดับ 1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม (ร้อยละ 73.1) อันดับ 2 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล(ร้อยละ 65.4) อันดับ 3 หนี้สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกา และ กลุ่มยูโรโซน (ร้อยละ 64.1)
 
                 สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
ปี 2555 คือ

                       1. เร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน   โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การป้องกันภัยพิบัติที่เป็นระบบ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                       2. เน้นการฟื้นฟูเยียวยา   ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม อย่างรวดเร็วและเท่าเทียม เพื่อให้การ
ผลิตของประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึง
การเร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในครัวเรือน
                       3. ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น   ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้รัดกุม
โปร่งใส รวมถึงการปรับ ครม. ที่ควรเอาคนที่มีความสามารถและน่าเชื่อถือมาเป็นรัฐมนตรีบริหารประเทศ
 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 4.1-5.0
12.8
จะขยายตัวร้อยละ 3.1-4.0
64.1
จะขยายตัวร้อยละ 2.1-3.0
11.5
จะขยายตัวร้อยละ 1.1-2.0
9.0
จะขยายตัวร้อยละ 0.0
1.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
1.3
                          ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเท่ากับ  ร้อยละ  3.3
 
 
             2. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 5.1-6.0
10.3
จะขยายตัวร้อยละ 4.1-5.0
50.0
จะขยายตัวร้อยละ 3.1-4.0
17.9
จะขยายตัวร้อยละ 2.1-3.0
11.5
จะขยายตัวร้อยละ 1.1-2.0
3.8
จะขยายตัวร้อยละ 0.1-1.0
2.6
จะขยายตัวร้อยละ 0.0
1.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.6
                          ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเท่ากับ  ร้อยละ 4.0 
 
 
             3. คาดการณ์ ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยในปี 2555

 
ร้อยละ
อยู่ในช่วง 121-130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
2.6
อยู่ในช่วง 111-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
9.0
อยู่ในช่วง 101-110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
30.8
อยู่ในช่วง 91-100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
44.9
อยู่ในช่วง 81-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
6.4
อยู่ในช่วง 71-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
2.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
3.7
                          ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันดิบ WTI เท่ากับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล 
 
 
             4. คาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปี 2555

 
ร้อยละ
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 5.1-6.0
1.3
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.1-5.0
21.8
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.1-4.0
60.3
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.0
11.5
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.1-2.0
1.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
3.8
                          ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.7 
 
 
             5. คาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 2555

 
ร้อยละ
ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ
        3.25 ไปสู่ระดับร้อยละ 3.50 ภายในปี 2555
14.1
ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 3.25
        ตลอดปี 2555
16.7
ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ
        3.25 ไปสู่ระดับร้อยละ 2.75 ภายในปี 2555
55.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
14.1
                  หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดการณ์เป็นค่ากลาง 
 
 
             6. คาดการณ์ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทโดยเฉลี่ย ในปี 2555

 
ร้อยละ
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 32.1- 33.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
3.8
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 31.1- 32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
19.2
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 30.1- 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
51.3
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 29.1- 30.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
12.8
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 28.1- 29.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
3.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
9.1
                          ค่าเฉลี่ยของค่าเงินบาท เท่ากับ 30.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
 
 
             7. คาดการณ์ การขยายตัวของ การส่งออกของไทยในปี 2555 เมื่อเทียบกับปี 2554
                 (ในรูปของเงินบาท)


 
ร้อยละ
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 21-25
2.6
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 16-20
25.6
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 11-15
46.2
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 6-10
16.7
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 1-5
5.1
จะขยายตัวติดลบ (หดตัว)
3.8
                          ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวการส่งออกเท่ากับ ร้อยละ 13.2

                  
หมายเหตุ:
การคำนวณค่าเฉลี่ยจะคำนวณเฉพาะการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเป็นบวก
 
 
             8. คาดการณ์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในปี 2555

 
ร้อยละ
SET Index จะปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจากปี 54 โดยจุดสูงสุดของปี
      55 คาดว่าจะอยู่ที่ 1,200 จุด
37.2
SET Index จะปรับลดลงโดยเฉลี่ยจากปี 54 โดยจุดต่ำสุดของปี 55
      คาดว่าจะอยู่ที่ 950 จุด
12.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
50.0
                  หมายเหตุ: SET Index ที่คาดการณ์เป็นค่ากลาง
 
 
             9. ปัจจัยเสี่ยงใดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2555 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อันดับ 1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม
73.1
อันดับ 2 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของ
            รัฐบาล
65.4
อันดับ 3 หนี้สาธารณะของประเทศสหรัฐอเมริกา และ กลุ่ม
            ยูโรโซน
64.1
อันดับ 4 ปัญหาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
52.6
อันดับ 5 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
24.4
อันดับ 6 ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
17.9
อันดับ 7 ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น
6.4
อันดับ 8 ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง เป็นต้น
5.1
อันดับ 9 การเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มการค้าอาเซียน ไทยจีน
           เป็นต้น
5.1
อันดับ 10 อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น
3.8
อื่นๆ (โปรดระบุ) ความไม่เชื่อมั่นของภาคเอกชน การลงทุนที่หดตัว
                    ความไม่ชัดเจนในการบริหารงานและการดำเนิน
                    นโยบายของภาครัฐ
2.6
 
 
             10. ข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2555
                   (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักเศรษฐศาสตร์ระบุเอง)


 
ร้อยละ
1. เร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ
    ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การป้องกันภัยพิบัติที่เป็นระบบ เพื่อเรียก
    ความเชื่อมั่น และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
24.4
2. เน้นการฟื้นฟูเยียวยา ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม อย่างรวดเร็ว
    และเท่าเทียมเพื่อให้การผลิตของประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
    อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
    รวมถึงการเร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายใน
    ครัวเรือน
17.9

3. ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ตรวจสอบ
    การใช้จ่ายเงินให้รัดกุม โปร่งใส รวมถึงการปรับ ครม. ที่ควรเอาคน
    ที่มีความสามารถและน่าเชื่อถือมาเป็นรัฐมนตรีบริหารประเทศ

6.4
4. ควรมีการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับความ
    เสี่ยงจากเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกา
รวมถึงการดำเนินมาตรการ
    ทางการเงินการคลังอย่างรัดกุม ด้วยการลดหรือตัดโครงการประชานิยม
    ที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน
5.1
5. ควรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้อย่างจริงจัง
5.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์
               แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
               ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ
               บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย
               ไซรัส  บริษัททริสเรตติ้ง   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัย
               วลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
               คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
               และ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  7 - 15 ธันวาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 ธันวาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
36
46.2
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
30.8
             สถาบันการศึกษา
18
23.0
รวม
78
100.0
เพศ:    
             ชาย
41
52.6
             หญิง
37
47.4
รวม
78
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
32
41.0
             36 – 45 ปี
22
28.2
             46 ปีขึ้นไป
24
30.8
รวม
78
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.1
             ปริญญาโท
54
69.3
             ปริญญาเอก
20
25.6
รวม
78
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
16
20.5
             6 - 10 ปี
26
33.3
             11 - 15 ปี
9
11.5
             16 - 20 ปี
8
10.3
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
19
24.4
รวม
78
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776